Intellectual Masturbation 2: กุญแจสร้างปัญหาให้กับเจ้าของบ้านมากกว่าโจร 🤨

Nutchanon Ninyawee
2 min readOct 6, 2019
My tools
เวลาว่างผมพยายามศึกษาความรู้ เพื่อใช้ทำมาหากินเวลาเกิดสงครามโลก วันที่โปรแกรมเมอร์ไม่เป็นที่ต้องการ วันที่โลกไม่มีไฟฟ้าแล้ว

วันนี้ผมมาในฐานะผู้ศึกษาด้าน Locksmith-ช่างกุญแจ, Radiosmith-ช่างเคลื่อนแม่เหล็กไฟฟ้า และ Hacker-นักเจาะระบบ นะครับ ผมมีความเชื่อว่าในบ้าน 100 หลังในเมืองไทย ระบบคอมพิวเตอร์ 100 ระบบในเมืองไทย. 80%+ สามารถผ่านทะลุเข้าไปได้อย่างง่ายดาย จึงทำให้ผมรู้สึกสงสัย และตั้งคำถามว่าความวุ่นวายและน่ารำคาญของการล็อกนี่ มันคุ้มค่ากับความปลอดภัยที่ได้รับจริงๆหรือเปล่า 🤔 มีวิธีที่ดีกว่านี้ไหม

Kitty Pryde, X Men and her Intangibility

ง่ายๆลองเปรียบเทียบดูสิครับว่า จำนวนครั้งที่คุณเข้าบ้านไม่สำเร็จ กับ โจรเข้าบ้านไม่สำเร็จดูสิ อันไหนมากกว่ากัน

เวลารวมที่โจรเสียเวลาเพื่อเข้าบ้านเทียบกับคุณเสียเวลาเพื่อเข้าบ้านตัวเอง อันไหนมากกว่ากัน

กุญแจสร้างปัญหาให้กับเจ้าของบ้านมากกว่าโจร

ตัวอย่างการปีนบ้านตัวเอง คนข้างบ้านคงจะงงๆหน่อยๆ 555

ผมได้มาจากเหตุการณ์ครั้งที่ร้อยแปดที่พ่อแม่ให้ผมปีนเข้าบ้านตัวเอง เพราะลืมกุญแจไว้ที่ออฟฟิตบ้าง ในบ้านตัวเองบ้าง หาไม่เจอบ้าง(แต่ก็อยู่ในกระเป๋า) ฯลฯ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นหลายครั้งนี้ ทำให้ผมรู้สึกกับตัวเองว่ากุญแจนั้นน่ารำคาญเป็นที่สุด จึงเป็นที่มาของสำนวน “กุญแจสร้างปัญหาให้กับเจ้าของบ้านมากกว่าโจร”

ซึ่งความหมายเต็มๆก็คือ การล็อกและการเปิดเข้าบ้านแบบที่หลายๆคนทำกันอยู่ในปัจจุบัน สร้างปัญหาให้เจ้าของบ้านซึ่งก็คือผู้ต้องคอยตรวจเช็ค ล็อกกรประตู ทุกบาน ทุกครั้งก่อนนอน และผู้ปลดล็อกประตูเป็นประจำ มากกว่าโจรโง่ๆที่พยายามเข้าบ้าน และอาจจะไม่ได้เข้ามาทางประตูที่คนล็อกด้วยซ้ำ

Metaphor

มีแนวคิดที่คล้ายกัน ที่เราพบเจอได้ในชีวิตประจำวัน เช่น

password สร้างปัญหาให้เจ้าของ accountมากกว่า hacker

เป็นความพยายาม เป็นความตั้งใจอันบริสุทธิ์ ที่จะปกป้องสิ่งที่เรารัก แต่ว่า

ความตั้งใจดี แต่ยังอ่อนหัด!

มิติของการล็อกบ้าน

Dimesion 1: Inside VS Outside

เมื่อเราล็อกบ้าน นั่นคือเราพยายามขีดเส้นระหว่างโลก 2 ใบ โลกภายในบ้าน กับโลกภายนอกบ้าน เขามีความเชื่อว่าภายใน สะอาด ปลอดภัย เป็นส่วนตัว ไม่ควรได้รับการรบกวนจาก สิ่งใดๆในโลกภายนอก นี้เป็นสิ่งที่เรามโน สมมุติขึ้นมา ในจิตใจเรา ไม่มีถูก ไม่มีผิด มันแค่เป็นเรื่องจริงสำหรับผู้ล็อกเท่านั้น ก็แค่นั้น อาจเป็นกฏหมาย แต่ก็ไม่ใช่กฎฟิสิกส์จักรวาล

หรือในทางกลับกัน ภายในบ้านเรา อาจมีอันตราย สารเคมี สัตว์ดุร้าย การล็อกก็สามารถป้องกัน ความเลวร้าย ภายในบ้านออกไปสู่ข้างนอกได้เช่นกัน

แต่บ้างทีถ้าโลกทั้งสองก็ไม่ต่างกัน เราก็ไม่ต้องล็อกบ้านก็ได้ จริงป่ะ?

Dimesion 2: ทำไมต้องล็อกบ้าน? ปลอดภัย แล้วปลอดภัยไปเพื่ออะไร

(ถามอะไรโง่ๆ) จริงๆนี่เป็นคำถามที่ลึกซึ้งมากเลยทีเดียว สาเหตุหลักๆก็คือเราไม่เชื่อมั่นในมนุษยชาตินั้นเอง หรือง่ายๆคือ เราไม่เชื่อมั่นในชุมชุนรอบๆบ้าน เราไม่เชื่อว่าคนที่ขโมยไปจะสร้างประโยชน์ได้มากกว่าเรา

อารมณ์แบบผู้ชายที่ถูกเท แล้วยังจมปรักอยู่กับความเชื่อว่าตัวเองดูแลเธอได้ดีกว่า เขาคนนั้น เธอควรจะเลือกฉันที่รักเธอมากกว่า ค.เหอะ

เมื่อคุณหรือครอบครัว ญาติ จะเข้าบ้าน เขาก็ต้องหากุญแจที่มีไม่กี่ดอกเสมอ เมื่อบ้านคุณไฟไหม้ รถดับเพลิงก็มีลำบากที่จะช่วยเหลือ บ้างครั้งก็มีโอกาสดีๆ เป็นร้อยเป็นพัน ที่ผู้หวังดี จะเข้าบ้าน เพื่อช่วยเหลือ ผู้อาศัย สัตว์เลี้ยง ทรัพย์สิน แทนเจ้าของบ้าน แต่เขาทำไม่ได้เพราะคุณล็อกไว้

เมื่อโจรขึ้นบ้าน แน่นอนว่า เขาคำนวณมาอย่างถี่ถ้วนแล้วว่าคุณไม่อยู่บ้านเวลาไหน ในบ้านมีกล้องกี่ตัว จะสะเดาะกุญแจได้อย่างไร ถือเป็นความพยายามพอสมควร แต่ก็คุ้มค่า การขโมยก็สำเร็จ คุณสูญเสียทรัพย์สิน และยังต้องเสียเวลาดำเนินคดีความ

แต่ถ้าคุณคิดต่อไปอีกนิด ก็จะพบว่า ของที่ขโมยท้ายที่สุดมันแค่เปลี่ยนเจ้าของเท่านั้นเอง อาจไปอยู่ในคนมือใครก็ตาม แต่มันก็ยังคงจะเป็นประโยชน์ ผมเคยมีจักรยานคนหนึ่งที่ปู่ให้ ราคาแพงมาก และผมก็รักมันมาก ผมใช้ปั่นไปมหาลัยฯ ทุกวัน วันหนึ่งมันถูกขโมยไป แม้ว่าผมจะล็อกมันอย่างดีแล้ว … วันนั้นผมพยายามขอดูกล้อง ตามหา แต่ก็ไม่เจอ ผมเสียใจ แต่ก็ค่อนข้างมั่นใจ ว่าท้ายที่สุด จักรยานที่เคยสร้างประโยชน์ให้กับมนุษย์คนหนึ่ง ก็จะยังคงเป็นอย่างนั้นเช่นเดิม คงจะโง่มากที่โจรที่ขโมยคนนั้นจะขายจักรยานคันเป็นแสนเป็นเศษเหล็ก แทนที่จะขายให้ร้าน ลงขายในเน็ต ให้คนว่าจ้างหรือเอาไปใช้เอง ผมไม่ได้บอกว่าการปล่อยให้ของหายถูกขโมยเป็นเรื่องดี แค่ชี้ให้เห็นว่าลึกๆลงไปก็ไม่มีความต่างนัก สรรพสิ่งเปลี่ยนเจ้าของเท่านั้น

บางที่ในโลกก็ไม่ใช้ล็อค แต่ก็ไม่มีการขโมยนะ แปลกไหม

อาจเป็นวิธีคิดที่สุดขั้วไปหน่อย แต่โลกเราก็มีตัวอย่างให้เห็น เช่น การเขียนโปรแกรมภาษา Python เจาะจงลงไปคือ dynamic type ที่เชื่อมั่นในมนุษยชาติว่า จะใส่ค่าตัวแปรที่ไม่ทำให้โปรแกรมระเบิด

Dimesion 3: Active VS Passive

เวลาเราพูดถึงการล็อก เรามักหมายถึง Passive Lock — Passive Protection เช่นการลงกลอน ล็อกประตู หน้าต่าง ซื่งเป็นสิ่งที่ส่งผลทั่วหน้าไม่เลือกบุคคล สถานะการณ์ ความสำเร็จของ Passive Lock ขึ้นอยู่กับความเท่าทัน ความรู้ ความสามารถของโจร

ตัวอย่างคำแนะนำจากแนวหน้าระดับประเทศ ที่ผมคิดว่ายังไม่ดีพอ

พูดถึงการทำล็อก ถึงเป็นงานฝีมือ งานศิลป์ขั้นสูงอย่างหนึ่ง แน่นอนว่ามีหลายระดับ และเวลาเราอ้างอิงระดับเราไม่ควรใช้ระดับในประเทศเป็นเกณฑ์ เพราะทุกวันนี้ทุกคน(รวมถึงโจร)เข้าถึงความรู้ในระดับโลกกันหมด สั่งชุดอุปกรณ์แกะล็อกระดับโลกได้กันหมด เมื่อคุณยังอ้างอิง Spectrum ในร้านวัสดุก่อสร้างหลายสาขาทั่วไปในไทย ต่อให้คุณซื้อแพงแค่ไหนมันก็ยังไม่ปลอดภัยแม้แต่เซนติเมตรเดียว ร้านวัสดุก่อสร้างก็ควรวิจัยและเลือกสันต์สิ่งที่ให้ความปลอดภัยแท้จริง ไม่ใช่สักแต่ว่ามันอยู่ใน Category Supplier ก็หยิบมา

อีกตัวอย่างคือบัตร RFID ที่ใช้เป็นบัตรนักศึกษา บัตรเข้าออกอาคาร สำนักงาน บัตรจอดรถ ผู้รับเหมางานระบบควรหลีกเลียง ชนิด 125 kHz หรือ 13.56 MHz ที่สามารถ ทำสำเนาได้ อย่างง่ายดาย ผมพบเห็นความอ่อนหัดในอาคารที่ต้องบังคับการคุ้มกันแน่นหนา ทั้งภาครัฐและเอกชน ผู้ใช้งานตาดำๆอย่างเราๆก็คงต้องทดรับความอ่อนหัดต่อไป ผู้รับผิดชอบก็คงต้องโยนความผิดให้ รปภ. ตาดำๆ น่าเศร้าใจยิ่งนัก

มาดู Active Protection กัน Active Protection คือ เพื่อนของการล็อก คือ การรับรู้ ตอบโต้ หรือ/และการโจมตีกลับ ภัยคุกคามเมื่อเกิดเหตุการขึ้นทันที ตัวอย่างโง่ๆก็คือ กล้องวงจรปิดตรวจจับความเคลื่อนไหว แล้วส่ง notification ให้มือถือ

สมัยโบราณนั้น คงไม่มีใครถางตาเฝ้าสถานที่ได้ทั้งวันทั้งคืน ถ้าไม่ใช่พระราชาวัง แต่ทุกวันนี้เรามี Technology ที่สามารถเฝ้าสถานที่ได้ 24/7 ไม่หยุด ไม่ขี้เกียจ ไม่ง่วง จ่ายแค่ค่าไฟ กับค่า cloud ถ้ามีตังแล้วใครจะไม่ใช้ มาดู Jigjaw ที่ละตัวกันว่ามันทำอะไรได้บ้าง

Digital Actions — API สำหรับโทรเข้า-โทรออก SMS LINE แจ้งตำรวจ แจ้งรปภ. แจ้งเพื่อนบ้าน แจ้งหมอพยาบาล แจ้งญาติโกโหติกา โทรสั่งนักฆ่าไปล่าตัวโจร API สำหรับส่งเสียง เปิดแสงโหวกเหวก โวยวาย สร้างความผิดปกติในบ้าน

Wearables Smart Home Sensor/IoT — ข้อมูลต่อเนื่องของบริเวณบ้าน และร่างกายตัวเอง ไม่มีทางที่การบุกรุกจะไม่ถูกเห็น ไม่มีทางที่ชีพจรคุณจะหยุดโดยที่ไม่ถูกบันทึกในระบบ ไม่มีทางที่การสั่นสะเทือนที่กลายเป็นเสียงของผู้บุกรุกจะเล็ดรอดได้ เว้นเสียแต่ระบบสำรองไฟมีปัญหา หรือระบบถูกเจาะ

ML /Deep Vision — เราสามารถเปลี่ยนข้อมูลให้เป็นสารสนเทศที่มีความหมายได้ ระบบจดจำใบหน้า ไม่มีทางที่ระบบจะไม่รู้ว่าครอบครัวคุณอยู่ในบ้านครบยัง ระบบตรวจการแต่งกาย ไม่มีทางที่ระบบจะไม่รู้ว่าพนักงานส่งของเคอรรี่ พนักงานส่งพิซซ่า พนักงานส่งของสดเทสโก้ยืนอยู่หน้าบ้าน ระบบแยกแยะเสียง ไม่มีทางที่คุณจะไม่รู้ว่าเกิดอะไรต่างๆขึ้นในบ้าน ฯลฯ และอีกหลายอย่างที่รู้ได้ไม่รู้จบ

วิญญาณดิจิตอลของเราก็เหมือนผีน้อย Casper แหละ 😋

ทั้งสาม Jigjaw เอามาเชื่อมด้วยสิ่งที่เรียกว่า Programming + Devops หน่อยๆ ก็จะกลายเป็น วิญญาณดิจิตอลที่เฮี้ยนที่สุด ประจำบ้านเลยทีเดียว มันจะอยู่หลังจากคุณตายไปแล้วด้วยซ้ำ เป็นวิญญาณดิจิตอลประจำบ้านที่เฮี้ยนแต่ก็น่ารักกับผู้อยู่อาศัย แถมยังสอนนู่นสอนนี่ได้เรื่อยๆอีกด้วยนะ

การใช้ Active Protection มีศักยภาพในการจับกุมผู้บุกรุกได้อย่างยอดเยี่ยม ถ้าคุณมีความพร้อม คุณก็ควรจะทำบ้านคุณให้เหมือนกับดักหนู ไว้ล่อโจรมาเชือด จะเป็นผลดีทั้งกับคุณและชุมชนรอบๆ เป็นประโยชน์เชิงระบบ อีกความคิดสุดโต่งที่น่าสนใจ

Dimesion 4: As a message, to claim insurance

คนหลายคนบนโลก มักคิดเข้าข้างตัวเองว่า การไม่ล็อกคือการเชื้อเชิญในเข้ามาได้

อารมณ์แบบ การใส่สั้นคือการหาผัว เชิญคนมาเย ค.เหอะ

ทั้งๆที เจ้าของบ้านอาจจะอยากสะดวกสบายเท่านั้นเอง

อย่างไรก็ตาม การเคลมประกันภัยขโมยของในปัจจุบันก็มักจะต้องการหลักฐานในการบุกรุก งัดแงะ ทุบทำลาย ถ้าล็อกก็มักจะเกิดหลักฐานบางอย่างขึ้นได้ง่าย

ดังนั้นการล็อกก็ยังคงจำเป็นในฐานะสิ่งที่แสดงเจตจำนงที่จะของเจ้าของบ้าน

ผมนึกออกเพียงสี่มิติ ที่จำเป็นในการช่วยตัวเองทางความคิด เพื่อให้เสร็จ แต่อยากให้คุณอย่าพึ่งเสร็จ อดทนอีกนิดนึง ผมจะพาไปดูสุดขอบแห่งความเป็นไปได้ของการขโมยที่น่าสนใจ

Extreme Real World Case Studies

เรื่องจริงระดับโลก ของโลกการขโมย ถ้ามีการเตรียมตัวเพียงพอ มนุษย์จะเอาอะไรใต้ฟ้าไม่ได้?

Extreme 1: เหนือฟ้ายังมีฟ้า เหนือปลาร้ายังมีหนอน

ป้องกันมาดีแค่ไหนก็เท่านั้น คนจะเอาก็เอาได้อยู่ดี

Extreme 2: ขโมยของที่ถูกขโมยมาแต่แรก

เอ๋~ ใครผิดใครถูกว่ะ

Extreme 3: ถูกบีบบังคับให้ขโมย

ถ้าไม่ขโมย ฉันก็ตาย เอาไงดี?!?

Extreme 4: All Calculated! Digitally

หนึ่งในการ Hack ที่วางแผนดีมากๆ ทุกคนน่าจะรู้ว่า Hacker ที่ดีที่สุดในโลก เร็วที่สุดในโลกอยู่ที่เกาหลีเหนือ

หลังจากความเรื่องราวทั้งหมดทั้งมวล ย้อนกลับมาที่ตัวเองอีกครั้งแล้วถามใจตัวเองดู กูล็อคไปท้ายที่สุดเพื่ออะไร เราต้องการปกป้องอะไรกันแน่

What is your ultimate goal for locking?

ความสบายใจมักกลายเป็นความปลอดภัย ทั้งๆที่ ความปลอดภัยต่างหากที่ทำให้สบายใจ

ตกลง

กุญแจสร้างปัญหาให้กับเจ้าของบ้านมากกว่าโจร

หรือเปล่า? คุณจะออกแบบระบบความปลอดภัยที่เป็นปัญหาเฉพาะกับโจรได้อย่างไร

Intellectual Masturbation นี่เป็นงานเขียนที่นำเรื่องที่ไม่จำเป็นต้องคิด เก็บมาขบคิด เพื่อสุนทรียะ เพื่อสำเร็จความต้องการทางความคิดนั้นเอง เพราะธรรมชาติของมนุษย์ส่วนมากคือหยุดคิดไม่ได้ คิดวนไปวนมา ผมเสร็จแล้วไม่คิดเรื่องนี้แล้ว และผมหวังว่ารายการนี้จะทำให้ผู้อ่านทุกคนเสร็จนะครับ!

เป็นที่ยินดียิ่งที่เพื่อนที่เป็นผู้อ่านได้บอกให้ผมทราบแล้วว่า คนที่เป็นเจ้าของวลี “ช่วยตัวเองทางความคิด” คือ หม่อมเจ้าสิทธิพร กฤดากร ซึ่งฟังมาจาก อ.สุลักษณ์ ศิวรักษ์ อีกที ผมได้เปลี่ยนชื่อรายการเป็น Intellectual Masturbation จาก Thought Masturbation เพื่อให้ตรงกับความหมายมากขึ้นนะครับ

--

--