Thought Masturbation 01: คนพูดไม่ทำ คนทำไม่พูด
ยินดีต้อนรับสู่ Thought Masturbation กับผมณัฐชนน(นัด-ชะ-นน) แปลเป็นภาษาไทยก็สุภาพก็จะได้ว่า ช่วยตัวเองทางความคิด หรือ ชักว่าวทางความคิด นั้นเอง ชื่อนี้ผมไม่ได้คิดเองมีที่มาว่า คุณพ่อเคยเล่าให้ฟังตั้งแต่เด็ก มีคนไทยแก่ๆคนหนึ่งจำไม่ได้ เคยชี้ให้หนุ่มคนหนึ่งเห็นว่า แท้จริงแล้วผลงานหนังสือของเขาคือการช่วยตัวเองทางความคิดเท่านั้นเอง!! ผมเองก็รู้สึกเช่นเดียวกับคนแก่คนนั้นอย่างแรงกล้า จึงทำรายการนี้เพื่อระลึกถึงเขา
นี่เป็นรายการที่ ผมนำเรื่องที่ไม่จำเป็นต้องคิด เก็บมาขบคิด เพื่อสุนทรียะ เพื่อสำเร็จความต้องการทางความคิดนั้นเอง เพราะธรรมชาติของมนุษย์ส่วนมากคือหยุดคิดไม่ได้ คิดวนไปวนมา ผมเสร็จแล้วไม่คิดเรื่องนี้แล้ว และผมหวังว่ารายการนี้จะทำให้ผู้อ่านทุกคนเสร็จนะครับ!
หมาเห่าไม่กัด (หมากัดไม่เห่า?)
คนพูดไม่ทำ คนทำไม่พูด
ร้อยคนคิด สิบคนทำ หนึ่งคนสำเร็จ
ไอ้พูดนั่นมันง่าย ลองทำดูสิ รู้เลยย!
พูดมากปากเหม็น
ทั้งหมดข้างต้นต่างเป็นคำคมที่น่าสนใจ และเวลาอ่านทำให้รู้สึกว่ามีบางอย่างที่เหมือนกันอย่างน่าประหลาด อย่างไรก็ตามผมเชื่อ ทุกสิ่งแปรผันหากรู้จักและเตรียมพร้อมพอ ก็ไม่มีสิ่งใดที่หาประโยชน์ไม่ได้ ความโกรธก็มีประโยชน์ ความขี้เกียจก็มีประโยชน์ คนรักเก่าก็มีประโยชน์ คนปัจจุบันก็มีโทษ ระเบียบวินัยก็มีโทษ การใช้เหตุผลก็มีโทษ ขึ้นอยู่กับปัจจัย เพราะมันไม่มีอะไรมาทีละอย่าง(isolated factor) มันไม่มีอะไรที่ง่ายที่จะรักษาไม่ให้ขาดไม่ให้เกิน(easy to maintain) มันไม่มีอะไรมาทีเดียวจบ(non-sequential) และมันไม่มีอะไรชัดเจน(complete infomation) ทุกอย่างมันเกิดจากการพัฒนา-ปรับเปลี่ยน สะสมมาเรื่อยๆ(incremental-accumulative) บนความเข้าใจที่ดีที่สุดบวกกับอารมณ์ ณ ขณะหนึ่งๆของมนุษย์
รวมถึง “คนพูดไม่ทำ คนทำไม่พูด” คำพูดนี้ สำนวนนี้ก็เป็นทั้งเท็จทั้งจริงตามสถานะการณ์ มาดูกันว่ามันมีลับลมคมในอย่างไร มาวิเคราห์กัน
การตีความและจำกัดบริบท
ในที่นี้ผมตีความและจำกัดบริบทว่า
การพูด ๑ คือการบ่น-บอกเล่าถึงปัญหาที่ตนมีให้คนรอบข้างได้ทราบ ปัญหาที่ว่ามีลักษณะคือแก้ยังไม่ได้ มักต้องใช้คนหลายคนแก้ ไม่สามารถแก้ด้วยตัวคนเดียวได้ “คนพูด” อาจสามารถแปลได้อีกว่าคนที่พูดมากเกินความจำเป็น
การทำ ๑ คือไม่ใช่แค่การทำเฉยๆ แต่หมายรวมถึงความสำเร็จของการกระทำเพื่อแก้ปัญหานั้น
“คนพูดไม่ทำ คนทำไม่พูด” สำนวนนี้มักพูดเพื่อเตือนอีกฝ่ายเป็นนัยๆว่า คุณกำลังพูดมากเกินจำเป็นหรือเปล่า?
ทำไม? คนพูดไม่ทำ
- ไม่มีปัจจัย เวลา ๑ ทักษะ ๑ อำนาจ ๑ อุปกรณ์และวัสดุ ๑ การเตรียมการ ๑
- หาแนวร่วม เพราะต้องทำเป็นหมู่คณะ
- กำลังหามุมมองใหม่ๆ ที่ตนเองพลาดไป
ข้อหนึ่งฟังเหมือนข้ออ้างมากกว่าในหลายๆสถานการณ์ แต่ก็ไม่ได้ผิดอะไร จะให้เจ้าสั่วไปกวาดบ้าน ไปคุยงานเอง ทุกครั้งก็คงเป็นไปไม่ได้ ต้องให้คนไปทำแทน แล้วเจ้าสั่วก็คงกวาดบ้านไม่เก่งด้วย
การหาแนวร่วมนี้ อยากให้มองสำนวน “หมาเห่าไม่กัด” ไปพร้อมกันด้วย สุนัขเป็นสัตว์ที่อยู่เป็นครอบครัวเป็นฝูง การเห่าก็เป็นการประชาสัมพันธ์ให้ครอบครัว ๑ สุนัขด้วยกัน ๑ ศัตรูที่จะกัด ๑ ผลลัพธ์ที่แน่นอนคือมีสุนัขรอบๆมาเห่าเป็นเพื่อน การเห่าหาเพื่อนได้เพิ่มแน่ๆ แต่เพื่อนๆจะร่วมกัดศัตรูนี่ไม่แน่ใจเท่าใดนัก หลายๆครั้งเมื่อเห่าไปมากๆ ก็ลืมจุดประสงค์ที่แท้จริงว่าจะไปกัดศัตรู แต่กลายไปเห่าเพื่อให้สุนัขตัวอื่นมาเห่าต่อๆไปเท่านั้นเอง มนุษย์ก็ไม่ต่างกันมากนักในหลายๆครั้ง จึงต้องมีการเตือนกันจะได้ไม่หลงประเด็น
เมื่อมันไม่เสียหาย ณัฐชนนก็แชร์ปัญหากับคนข้างๆได้ บางทีมุมมองที่คับแคบก็เป็นอุปสรรคสำคัญในการแก้ปัญหา ฉะนั้นณัฐชนนจึงต้องพยายามให้มุมมองของเขาเป็นเอกภาพ และทั่วไป(generic)ให้มากที่สุด คิดเหมือนกันไหม
สุดท้ายโดยส่วนมาก ใครๆก็พูดเพื่อให้ตัวเองดูดีเท่านั้น เขาต้องการเปลี่ยนแปลงมุมมองของผู้ฟังเท่านั้น พูดแค่ทำให้รู้สึกว่าเขามีความตระหนัก(concern) ในเรื่องร้อนแรงนี้เหมือนกัน ไม่ตกเทรด ไร้งี้ [พูดเพื่ออย่างอื่น ที่ไม่ใช่การแก้ปัญหาเป็นหลัก]
ทำไม? คนทำไม่พูด
- รู้งาน รู้วิธีรู้งาน
- ยิ่งคนรู้น้อย ยิ่งดี
- หมากัดไม่เห่า
ในเมื่อมีความชัดเจน รู้งาน รู้วิธีรู้งาน ก็บอกตัวเอง บอกคนอื่นว่าเขาต้องอะไรอย่างไรก็พอ ไม่ต้องเล่าประวัติศาสตร์ เล่าปัญหาเยอะ แค่ให้เขาเข้าใจความสำคัญของผลลัพธ์เวลาแก้ปัญหาได้ก็พอ จริงป่ะ? ประหยัดเวลาได้อีกมาก แต่หลายครั้งในยุคของประชาธิปไตย์ทุนนิยมสมัยใหม่ สิทธิและเสียง การยอมรับความหลากหลายเป็นสิ่งที่บังคับให้คนต้องพูดออกมาให้หมดก่อนทำ สร้างความเสียหายต่อการแก้ปัญหาอย่างมาก เพราะเหตุผลที่จะกล่าวในย่อหน้าถัดไป
ความจริงมีหลายระดับ และมักเป็นสิ่งที่น่ากลัวขึ้นเรื่อยๆตามลำดับลำดา ๑ เราไม่สามารถแก้ปัญหาให้ทุกคนได้ เพราะมีคนได้ก็ต้องมีคนเสีย ๑ นานาความคิดแห่งมหาชน ทุกคนก็มีสิทธิ์มีเสียงและมันต้องถูกนับรวม ๑ ต่างเป็นเหตุผลที่คนแบบณัฐชนน ไม่สามารถบอกปัญหากับคนข้างๆได้หมดจด ไม่งั้นไม่ได้ทำอะไรกันพอดี
อันนี้เจอมากับตัว เวลาสุนัขตัวเล็กๆจะกัด มันจะย่องเข้ามาเงียบๆทางด้านหลัง แล้วกัดเข้าไปเลย ไม่เห่าเพราะถ้าเห่า คนที่จะกัดก็จะรู้ตัวและระมัดระวัง และการกัดก็จะล้มเหลว
สรุป? คนทำไม่พูด คนทำไม่พูด
จริงๆคนทำก็พูด แต่พูดเท่าที่จำเป็น แต่ใครๆที่ผ่านไปมา 90%++ ก็ถูกอย่างที่สำนวนว่าแหละ คนพูดมักจะไม่ได้ทำ ผมจึงของจบสำนวนด้วยคำเพิ่ม
หมาเห่าไม่กัด หมากัดไม่เห่า ที่เห่าก็เพื่อหาพรรคพวกมาเห่าเท่านั้น